กัญชา กรมการแพทย์แผนไทยฯ สั่งพักใบอนุญาต ร้านขายกัญชาใกล้โรงเรียน
กัญชา หรือต้นกัญชาเป็นพืชล้มลุกชนิด มีขนาดลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร ใบมีแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉกแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์ ดอกสีเขียว ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหรี่กัญชา เดิมใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา รวมถึงภาวะเคลิ้มสุข ความผ่อนคลาย และความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงไม่พึงปรารถนาบางครั้งทำให้ การคิดการตัดสินใจ ความจำระยะสั้นลดลง ทักษะการเคลื่อนไหวบกพร่อง และรู้สึกหวาดระแวงหรือวิตกกังวล
สั่งพักใบอนุญาต “ร้านขายกัญชา” ใกล้โรงเรียนย่านสีลม
กรมการแพทย์แผนไทยฯ พักใช้ใบอนุญาตร้านขายกัญชาที่ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนย่านสีลม หลังพบไม่ส่งรายงานข้อมูลรายเดือนให้ตามระเบียบข้อบังคับของกรมฯ
เมื่อวันที่ 22 พ.ค.2566 เจ้าหน้าที่จากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นำประกาศพักใช้ใบอนุญาตให้จำหน่าย หรือแปรรูปสมุนไพรควบคุมการค้า ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยปี 2542 ไปติดหน้าร้านจำหน่ายกัญชาที่ตั้งอยู่ตรงข้ามโรงเรียนย่านสีลม กรุงเทพฯ
โดยระบุข้อความว่า พักใช้ใบอนุญาตให้จำหน่ายเป็นเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. ไปจนถึงวันที่ 20 มิ.ย.2566 สาเหตุของการพักใช้ใบอนุญาต เนื่องจากผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการอนุญาต กรณีไม่ส่งรายงานข้อมูลทั้งแหล่งที่มา การนำไปใช้และจำนวนที่เก็บไว้ที่สถานประกอบการต่อนายทะเบียน
อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ระบุว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุขยังไม่มีข้อบังคับและควบคุมการตั้งร้านกัญชา มีเพียงข้อห้ามจำหน่ายให้กับบุคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งจะต้องรอร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง ผ่านการพิจารณาของสภาฯ ก่อน ถึงจะมีกฎหมายกำหนดโซนตั้งร้านจำหน่าย
จากนี้จะตรวจสอบข้อมูลร้านก่อนออกใบอนุญาตให้ถี่ถ้วนมากขึ้น พร้อมแจ้งเตือนร้านจำหน่ายทุกแห่งต้องส่งรายงานข้อมูลกัญชาทุกเดือน หากไม่ให้ความร่วมมือจะถูกพักใช้ หรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตจำหน่ายกัญชา และหากพบการฝ่าฝืนอีกจะมีโทษทางอาญา แต่หากต้องการขอใบอนุญาตใหม่ ต้องผ่านไปแล้ว 2 ปีจึงจะขอใบอนุญาตได้ใหม่
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ที่ผ่านมา สมาคมผู้ปกครองและครู โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ได้จัดประชุมหาทางออกเพื่อสร้างความปลอดภัย รวมถึงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกัญชาให้แก่บุตรหลานในโรงเรียน รวมทั้งติดป้ายไวนิลหน้าโรงเรียน ระบุข้อความ “โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์ ปลอดสินค้าแปรรูปจากกัญชา กัญชงและพืชใบกระท่อมทุกรูปแบบ”
ขณะที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุในการแถลงลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาล เมื่อวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา โดย 1 ใน 23 ข้อคือการนำกัญชากลับไปอยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษ โดยหลังจัดตั้งรัฐบาลจะออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เพื่อควบคุมการนำไปใช้
สำหรับผู้ประกอบการที่ปลูกและจำหน่ายอย่างถูกกฎหมาย นายพิธา เน้นย้ำว่า ไม่ต้องกังวล เนื่องจากแนวคิดนี้ต้องการควบคุมกัญชาที่ลักลอบนำเข้า และมีการจำหน่ายผิดกฎหมายเท่านั้น
กัญชา มีข้อห้ามในการใช้ที่ไม่ควรทำเด็ดขาด
ปลดล็อคกัญชาและกัญชงออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 ส่งผลให้มีประชาชนจำนวนไม่น้อยยื่นลงทะเบียนการใช้บนแอปพลิเคชันปลูกกัญและเว็บไซต์ plookganja.fda.moph.go.th ของ อย. เพื่อหวังปลูกสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางการแพทย์ชนิดนี้ในครัวเรือนของตน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรชนิดนี้ก็เปิดขายได้อิสระมากขึ้นจากเดิม
10 ข้อควรระวังในการใช้กัญชา
(1) ก่อนใช้กัญชาและกัญชงควรศึกษาความเสี่ยงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อตนเองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ส่วนผู้มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อนโดยเฉพาะผู้มีโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางระบบประสาท โรคทางจิตเวช โรคปอด และอย่าลืมเช็คว่ายาประจำตัวของเราจะตีกับกัญชาหรือถูกสารกัญชารบกวนจนเกิดผลร้ายไหม
(2) ไม่แนะนำให้บุคคลที่อายุน้อยกว่า 25 ปี ใช้ช่อดอกกัญชาหรือสาร THC เนื่องจากมีโอกาสเกิดปัญหาต่อการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ทางสมอง โดยเฉพาะด้านการคิดอย่างมีเหตุผลซึ่งพบว่าหากมีการเสื่อมแล้ว แม้หยุดกัญชานานเป็นปีก็ไม่อาจคืนกลับเป็นปกติ ส่วนทักษะทางภาษาและความจำระยะสั้นสามารถกลับคืนเมื่อหยุดเสพได้
(3) หากคิดแล้วอยากจะลองใช้จริง ๆ ขอให้เริ่มแบบ THC (สารเมาหลอนและเสพติด) ปริมาณน้อยเสียก่อน เพราะนอกจากเสี่ยงเกิดอาการแพ้สาร THC แล้ว ผู้ที่ไม่เคยใช้สารชนิดนี้มาก่อนอาจเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้
(4) การสูบแบบเผาไหม้ บารากุ หรือแบบบุหรี่ไฟฟ้าล้วนเกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจและเยื่อบุได้ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งจากตัวกัญชา สารละลาย หรือสารปนเปื้อนอื่น หากมีอาการควรหยุดสูบในทันที
(5) ผู้ที่จะทดลองสูบ กรูณาสูบอย่าลึกมาก และอย่าอัด-กลั้นไว้ในปอด เพราะจะได้รับปริมาณสารเข้าสู่ร่างกายเยอะ ทั้งสาร THC และสารระคายเคืองต่าง ๆ ที่ระคายเคืองทางเดินหายใจ
(6) คนรอบตัวที่ไม่ได้สูบยังอาจได้รับควันได้ ฉะนั้นควรสูบในที่จัดเป็นสัดส่วนของคนสูบกันเอง เลี่ยงการสูบในที่มีเด็ก คนท้อง หรือผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ
(7) หากใช้กัญชาแล้ว พยายามใช้แต่น้อย และติดตามการใช้ของตนเอง หากจู่ ๆ เริ่มใช้บ่อยขึ้นเยอะขึ้น ทำใจไม่ใช้ลำบาก เสียเงินเยอะ หรือคิดถึงการใช้มากจนรบกวนการทำงาน การดำเนินชีวิต หรือความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ต้องระวังว่ามีการติดกัญชาแล้ว แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อควบคุมการใช้ไม่ให้ติดจนรบกวนการดำเนินชีวิตมากไปกว่านั้น
(8) การขับขี่ยานพาหนะขณะที่มีอาการข้างเคียงจากการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นแนะนำให้งดการขับขี่ยานพาหนะหรือการทำงานกับเครื่องจักรไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หลังจากการใช้นอกจากนี้การใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาร่วมกับการดื่มสุราจะทำให้ความสามารถในการขับยานพาหนะลดลงมาก ดังนั้นแนะนำให้หลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด ที่สำคัญถึงยังไม่มีการห้ามเสพขณะขับขี่ยานพาหนะในช่วงที่ พ.ร.บ. ยังไม่ออก แต่หากก่อให้เกิดอุบัติเหตุก็ยังผิดในฐานะขับรถโดยประมาท
(9) การเลือกผลิตภัณฑ์กัญชา ควรเลือกที่มีความน่าเชื่อถือ ในต่างประเทศที่มีกติกากำกับดูแลผลิตภัณฑ์ จะมีการตรวจสารปนเปื้อน เชื้อโรค และยืนยันระดับสารว่าตรงกับที่ฉลากระบุ ซึ่งก็มีการคัดออกผลิตภัณฑ์ที่มีเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เศษปฏิกูลต่าง ๆ ออกอยู่
(10) ในต่างประเทศที่ยอมให้มีอาหารหรือขนมผสมกัญชาที่มี THC สูง มีข่าวที่มีการบาดเจ็บจากการกินบราวนี่กัญชาทั้งที่ผู้ซื้อเขาจงใจซื้อบราวนี่ธรรมดามากินกับลูกแต่กลายเป็นต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะพิษ THC หากจะซื้อขนมมากิน ควรเช็คให้แน่ใจว่าเป็นขนมแบบที่เราตั้งใจจะซื้อมากินจริง ๆ และถ้าเจอคนรอบตัวบาดเจ็บจากผลิตภัณฑ์อาหารหรือขนมใส่กัญชาโดยที่เจ้าตัวเขาจงใจจะซื้ออาหารหรือขนมธรรมดา (ปนเปื้อนโดยไม่แจ้งผู้บริโภค) ให้เก็บหลักฐานที่เหลือไว้ แล้วนำตัวผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที จากนั้นรีบติดต่อสายด่วนคุ้มครองผู้บริโภค
ใช้กัญชากัญชงแบบไหน ผิด-ไม่ผิดกฎหมาย
ครอบครองสารสกัด THC ผิดกฎหมายไหม
แม้ปัจจุบันการครอบครองกัญชาและกัญชง ไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าใดก็ไม่มีความผิดตามกฎหมาย แต่หากครอบครองสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือสารสกัด THC เกินกว่า 0.2% โดยไม่มีใบอนุญาต ไม่มีใบสั่งแพทย์ ไม่ผ่านการรับรองโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือมีการนำสารสกัด THC มาจากนอกประเทศไทย กรณีเหล่านี้ยังถือว่ามีความผิดอยู่
สูบกัญชา ผิดกฎหมายไหม
แม้ทุกส่วนของกัญชาและกัญชงไม่จัดเป็นยาเสพติด ยกเว้นสารสกัดที่มีสาร THC เกินกว่า 0.2% ส่งผลให้การเสพ การสูบ และการบริโภคกัญชาผิดกฎหมาย แต่การใช้กัญชายังถูกควบคุมดูแลผ่านข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น
- การสูบกัญชาในที่สาธารณะ รบกวนสิทธิผู้อื่น โดยก่อให้เกิดความรำคาญจากกลิ่นหรือควัน หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพแก่ประชาชนที่อยู่หรืออาศัยบริเวณใกล้เคียง เจ้าพนักงานท้องถิ่น สามารถระงับเหตุและตรวจสอบได้ตามกฎหมาย โดยมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
- เสพแล้วต้องไม่ขับรถ หากฝ่าฝืนก็จะมีความผิดตามกฎหมายจราจร
- ห้ามสูบกัญชาแบบม้วน เพราะไม่มีอากรแสตมป์ของกรมสรรพสามิตติดไว้อย่างถูกต้องเหมือนกับบุหรี่
จำหน่ายกัญชาและกัญชง ผิดกฎหมายหรือไม่
แม้จะถูกปลดล็อคจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 แล้ว แต่ก็ยังมีส่วนถูกควบคุมโดยกฎหมายอยู่เช่นเดียวกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาต
- การขายส่วนของพืชกัญชาและกัญชง ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
- การขายสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด หากเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ
- ผู้จําหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางที่มีส่วนผสมของกัญชาและกัญชง ไม่ต้องขออนุญาตก่อน แต่จะต้องนําผลิตภัณฑ์ที่จดแจ้งเรียบร้อยแล้วและมีฉลากภาษาไทยที่ระบุข้อความครบถ้วน ถูกต้องมาจําหน่าย
ต้องขออนุญาต หากไม่งั้นมีความผิด
- การขายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ ยังต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- การขายสารสกัดที่มี THC เกิน 2 % ต้องมีใบอนุญาตจําหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
- การจําหน่ายผลิตภัณฑ์กัญชาหรือกัญชง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์นั้น เช่น ผลิตอาหารต้องทำตาม พ.ร.บ.อาหาร หรือผลิตยาต้องทำตาม พ.ร.บ.ยา เป็นต้น
หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย
- การขายกัญชาและกัญชงให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร เพื่อนำไปบริโภค หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
- ห้ามจำหน่ายกัญชาแบบมวน หรือนำไปมวนแล้วขายเหมือนบุหรี่ เพราะกรมสรรพสามิตยังไม่อนุญาต
- การโฆษณากัญชาในสื่อวิทยุโทรทัศน์
สารในกัญชามีสรรพคุณในทางการแพทย์
เป็นหนึ่งในพืชที่มีสารสำคัญอยู่ภายใน มนุษย์รู้จักพืชชนิดนี้นำมาใช้เป็นสรรพคุณทางยากันอย่างแพร่หลายในยุคสมัยหนึ่ง ต่อมาเมื่อกัญชาถูกควบคุมให้เป็นยาเสพติดจึงถูกระงับการใช้ในวงการแพทย์ไป แต่ก็ยังมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยใช้เป็นยารักษาอาการบางอย่างด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านอยู่ จนเมื่อมีนักวิทยาศาสตร์ ได้มาไขปริศนาจนเกิดเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์สมัยใหม่ จนกลับมาเป็นพืชที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง รวมถึงในประเทศไทยได้อนุญาตให้ ปลูกและนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ได้ และปลดล๊อคให้บางส่วนของกัญชา ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษอีกต่อไป
สารในกัญชาที่ใช้ทางการแพทย์ ส่วนใหญ่นิยมใช้ช่อดอก เนื่องจากมีสารสำคัญที่สามารถนำมาสกัดอยู่ในปริมาณมากกว่าส่วนอื่นๆโดยเลือกเก็บและสกัดสารสำคัญจากดอกตัวเมียที่ไม่ถูกผสม เมื่อออกดอกเติบโตจะมีไตรโคม (Trichomes) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของต้นกัญชาที่สะสมสารสำคัญของกัญชาประกอบด้วย THC, CBD และสารอื่นๆ อีกกว่า 400 ชนิด รวมไปถึงการเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง จากสายพันธุ์ลูกผสมที่มีสารทีเอชซี (THC) และสารซีบีดี (CBD) เด่น และได้มาตรฐานทางการแพทย์ที่นานาชาติให้การการยอมรับ จะใช้กรรมวิธีการสกัดให้ได้ปริมาณสารสำคัญเป็นไปตามที่ต้องการและสม่ำเสมอ , ปราศจากเชื้อก่อโรค,ยาฆ่าแมลง และปราศจากการปนเปื้อนของสารโลหะหนัก
น้ำมันกัญชาจะอยู่ในรูปแบบของน้ำมันหยดใต้ลิ้นสำหรับหยดใต้ลิ้น(Sublingual Drop) เพื่อให้ยามีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์เร็วขึ้นและดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้มากกว่าการให้ยาในรูปแบบแคปซูลรับประทานอีกทั้งยังสามารถเจือจางความเข้มข้นของยาได้ตามความต้องการของแพทย์ผู้สั่งจ่ายและโรคที่นำไปใช้รักษา
ประโยชน์และข้อควรระวังในการใช้รักษาโรคและอาการต่างๆ
- ภาวะคลื่นไส้อาเจียน ในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด
- โรคลมชักที่รักษายาก และโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง ในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง
- ภาวะอาการปวดเรื้อรัง ปวดประสาทส่วนกลาง ที่ใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล
- ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วยเอดส์ที่มีน้ำหนักตัวน้อย
- เพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่ได้รับการรักษาแบบประคับประคอง
และสืบเนื่องมาจากในปัจจุบันนี้วงการกัญชาถูกเป็นที่จับตามองว่าสามารถใช้เป็นส่วนผสมใน ผลิตภัณฑ์อาหาร รวมไปถึงกระบวนการผลิตยารักษาโรคต่างๆ 5 ตำรับยาแผนไทยก็ ถูกปลด ออกจากบัญชีตำรับยาเสพติดด้วย จุดประสงค์ก็เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ
การใช้สารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่ผู้ใช้ควรพึงทราบคือ หลังจากการใช้สารสกัดแล้วจะมี อาการง่วงซึม ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ ไม่ควรทำงานกับเครื่องจักรกล หากท่านมีอาการเวียนศีรษะ ร่างกายเสียความสมดุล หัวใจเต้นเร็วหรือช้าลง และความดันโลหิตผิดปกติ (อาจสูง/ต่ำกว่าปกติได้) ควรลดปริมาณการใช้ แต่หากมีความผิดปกติ เช่น อาการสับสน กระวนกระวาย วิตกกังวล ประสาทหลอน รวมถึงหากใช้แล้วเกิดอาการแพ้ เช่น มีผื่นขึ้น หน้าบวม ตาบวม ริมฝีปากบวม ควรหยุดใช้และปรึกษาแพทย์ทันที
นอกจากนี้ การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ยังมีข้อห้ามใช้ในบางกรณี ได้แก่
- มีประวัติแพ้สารสกัดจากกัญชา
- หญิงตั้งครรภ์ให้นมบุตร หญิงที่วางแผนในการมีบุตร
- ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มีความผิดปกติของตับและไตที่รุนแรง
- ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตเภท โรคจิตจากสารเสพติด โรคซึมเศร้า โรคอารมณ์สองขั้ว ผู้ที่มีความเสี่ยงในการทำร้ายตนเอง
- ผู้ที่ติดสารเสพติดรวมไปถึงนิโคติน หรือติดสุราอย่างหนัก
นอกจากการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ยังคงมีกระบวนการก้าวหน้าขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านสกัดเป็นยารักษาโรครวมไปถึงการแปรรูปเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์และการปรุงอาหาร อย่างไรก็ดี ขอเน้นย้ำอีกครั้งว่า การปลดล็อคก็เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ และการดูแลสุขภาพของประชาชนเป็นหลัก แต่เนื่องจากมีทั้งประโยชน์และโทษ ฉะนั้นหากต้องการใช้กัญชาและกัญชงควรศึกษาข้อมูลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้ง เพื่อให้การใช้สมุนไพรชนิดนี้เกิดประโยชน์สูงสุด
อ้างอิงข้อมูลจาก : Ramathibodi Poison Center, กรมอนามัย, สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
ที่มา
- https://www.thaipbs.or.th/news/content/328101
- https://promotions.co.th/
- https://th.yanhee.net/
- https://www.thaipost.net/abroad-news/
- https://www.samunpri.com/
ติดตามอ่านข่าวต่างๆ ได้ที่ bernicecrowder.com
สนับสุนโดย ufabet369